ประวัติ ตชด. พลร่มค่ายนเรศวร

  • เมษายน 7, 2013

ประวัติความเป็นมาของตำรวจตระเวนชายแดนพลร่มค่ายนเรศวร


 

 

 

พ.ศ. 2495 – 2496 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ได้รับนโยบายให้ฝึกอบรมพลร่มขึ้นที่ค่าย เอราวัณ จังหวัดลพบุรี และเป็นการฝึกโดดร่มเป็นหน่วยแรก โดยมี พ.ต.อ. เจมส์ วิลเลี่ยมแลร์, ร.ต.อ. แจ๊ป เชอรี่ เป็นครูฝึก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกำลังพลรับสถานการณ์ภัยคุกคามของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นการฝึกแบบนอกแบบหรือแบบกองโจร จำนวน 11 รุ่น ระหว่างการฝึกคณะกรรมการและที่ปรึกษาได้เสนอหน่วยพิเศษพลร่ม

 

 ร.ต.ท. ปิ่นทัพ ปุราเท (ยศในขณะนั้น) ฝึกกระโดดร่มแบบกลม

 

พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจเห็นว่า ตำรวจพลร่มสามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายได้รวดเร็ว จึงได้อนุมัติให้ตั้งหน่วยตำรวจพลร่มขึ้น โดยมีความมุ่งหมายหลักขั้นต้น 2 ประการ

1. เตรียมกำลังตำรวจ เมื่อพร้อมที่จะปฏิบัติการต่อต้านหน่วยรบแบบกองโจร ตำรวจในสหพันธ์รัฐมลายูปฏิบัติอยู่ในขณะนั้น

2. เตรียมกำลังตำรวจโดยจัดให้ฝึกอบรมตำรวจพลร่มไว้ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองทัพต่าง ๆ ได้ในยามสงคราม

 

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2496 หน่วยตำรวจพลร่มก็ได้ถือกำเนิดโดยก่อตั้งขึ้นที่ค่ายนเรศวร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 27 เมษายน 2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดค่ายนเรศวร ทอดพระเนตรการแสดงโดดร่ม และสาธิตการใช้อาวุธพิเศษ ในการรบด้วยยุทธวิธี การรบแบบกองโจรของตำรวจพลร่ม จึงถือเป็น วันคล้ายวันสถาปนาค่ายนเรศวร

 

  ร.ต.ท. ปิ่นทัพ ปุราเท (ยศในขณะนั้น) โดดร่มแบบกระตุกเอง หรือ ดิ่งพสุธาด้วยร่มเหลี่ยม

   ร.ต.ท. ปิ่นทัพ ปุราเท (ยศในขณะนั้น) โดดร่มแบบกระตุกเอง หรือ ดิ่งพสุธาด้วยร่มเหลี่ยม

 

พ.ศ. 2503 ได้มีปรับโครงสร้างกรมตำรวจโดยยุบกองบังคับการยานยนต์หรือตำรวจรถถัง และให้หน่วยพลร่มค่ายนเรศวรอยู่ในสังกัด กองบัญชาการตำรวจชายแดน ผู้บังคับหน่วยคือ พ.ต.ต. ประเนตร ฤทธิฤาชัย ยกฐานะเป็น กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ “กก.สอ.” ขึ้น การบังคับบัญชากับฝ่ายสนับสนุนตำรวจภูธรชายแดนกองบัญชาการตำรวจภูธร (ชายแดน) กระทรวงมหาดไทย

 

พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 130 ลง 22 เม.ย. 2515 ได้ปรับปรุงกองบัญชาการตำรวจภูธรใหม่ จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศจึงได้ขึ้นกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

 

พ.ศ. 2529 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ย้ายที่ทำการไปอยู่ ณ อำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุรี ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ เล่มที่ 103 ตอนที่ 176 ลง 13 ตุลาคม 2529

 

17 มิถุนายน 2548 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเล่มที่ 152 ตอนที่ 51 ก ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2548 เป็นกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ และ กองกำกับการ 1 – 4

 

7 กันยายน 2552 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเล่มที่ ตอนที่ ลงวันที่ 2552 เป็นกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ประกอบด้วยฝ่ายอำนวยการ และ กก. 1 – 5 โดยเพิ่มเติม กองกำกับการ 5 รับผิดชอบงานป้องกันและระงับอัคคีภัย ในเขตพระราชฐาน จนถึงปัจจุบัน

 

 
ร.ต.ท. ปิ่นทัพ ปุราเท หลังการฝึกทบทวนโดดร่มแบบกระตุกเอง หรือ ดิ่งพสุธาด้วยร่มเหลี่ยม

 

การก่อตั้งค่ายนเรศวรในขั้นแรกนั้น มีกำลังตำรวจทั้งสิ้น 100 คน ต่อมาได้รับสมัครจากบุคคลภายนอกซึ่งมีภูมิลำเนาในภาคต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค โดยคัดเลือกผู้ที่มีคุณวุฒิในการศึกษาระดับสูงและมีความรู้ทางด้านภาษาอื่นเป็นพิเศษ หน่วยตำรวจพลร่ม ที่จัดตั้งนี้ยังมี่การจัดกำลังที่แน่นอนตำรวจที่ปฏิบัติงานที่ค่ายนเรศวร เป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการตำรวจประจำกองบังคับการยานยนต์ ในทางปฏิบัติภายในการจัดเทียบเท่ากองกำกับการ และจัดระบบเช่นเดียวกับกองพันทหารพลร่มขึ้น การบังคับบัญชาทางธุรการต่อกองบังคับการยานยนต์ขึ้นการบังคับบัญชาทางด้านยุทธการและการข่าวต่อกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ยังไม่ได้รับมอบภารกิจที่แน่นอนให้ปฏิบัติแต่ได้ทำการฝึกอบรมให้ตำรวจมีความรู้ความชำนาญ และสามารถที่จะปฏิบัติการได้ดังนี้

 

1. เสริมกำลังได้อย่างรวดเร็วให้กับกรมตำรวจในทุกสภาพภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ
2. ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับตำรวจท้องที่ในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลเส้นทางคมนาคม
3. ปฏิบัติภารกิจพิเศษที่หน่วยตำรวจทั่วไปปฏิบัติได้ไม่ทันท่วงที เช่น การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในท้องถิ่นที่อยู่ไกลเส้นทางคมนาคม

 

ร.ต.อ. ปิ่นทัพ ปุราเท ขณะดำรงตำแหน่ง  ผบ.ร้อยหน่วยกู้ชีพ กก.3 บก.สอ.บช.ตชด. ค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
ร่วมกับกองร้อยกู้ชีพ ค่ายนเรศวร ช่วยเหลือประชาชนที่ประสพอุทกภัย ปี 2554
ร.ต.อ. ปิ่นทัพ ปุราเท ขณะดำรงตำแหน่ง  ผบ.ร้อยหน่วยกู้ชีพ กก.3 บก.สอ.บช.ตชด. ค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
ร่วมกับกองร้อยกู้ชีพ ค่ายนเรศวร ช่วยเหลือประชาชนที่ประสพอุทกภัย ปี 2554

การฝึกรบในป่า


 

เมื่อฝึกอบรมจนเป็นนักโดดร่มที่มีความสามารถได้แล้ว ความมุ่งหมายต่อไปคือ ให้ทุกคนรู้จักการดำรงชีพในป่า ในภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาทุรกันดาร จากการสำรวจพื้นที่ทางอากาศได้พบว่า พื้นที่ทางทิศตะวันตกของอำเภอหัวหิน เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นป่าทึบ ซึ่งเหมาะที่จะสร้างค่ายฝึก จึงจัดส่งหน่วยลาดตระเวนเพื่อหาข่าวและสำรวจพื้นที่โดยใช้เวลาสำรวจ 4 สัปดาห์ จึงได้ที่เหมาะที่สร้างค่ายฝึกในป่า ริมแม่น้ำห้วยสัตว์ใหญ่ ต.สองพี่น้อง กิ่ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 เป็นต้นมา นักเรียนพลร่มทุกรุ่นต้องเดินทางไปรับการฝึกในปีหนึ่ง อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อทำการทดลอง ตรวจสอบเครื่องสนามและอาวุธต่าง ๆ ที่ค่ายห้วยสัตว์ใหญ่ว่าจะมีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศเพียงใดในการปฏิบัติงานในป่า

 

 ร.ต.ท. ปิ่นทัพ ปุราเท (ยศในขณะนั้น) ลาดตระเวณตรวจตราพร้อมทำงานมวลชลสัมพันธ์ที่บ้านกลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา

 

การฝึกในป่านั้น ทุกคนจะต้องเดินทางไปและกลับด้วยการเดินเท้า มีอาวุธประจำกายของใช้ส่วนตัวยารักษาโรคต่าง ๆ (ไข้ป่า) อาหารให้พอกินไม่น้อยกว่า 3 วันติดตัวไปด้วย เส้นทางที่เดินเป็นทางผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงและประชาชนไกลคมนาคม ทำให้เห็นความอดอยาก ยากจน โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ความเป็นอยู่ที่ล้าหลังตำรวจพลร่มจึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือให้ประชาชนเหล่านั้นพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ให้เจริญก้าวหน้าขึ้น โดยการจัดตั้งชุดพัฒนาการ 712 ขึ้นที่หมู่บ้านป่าละอู และชุดพัฒนาการ 713 ที่หมู่บ้านป่าเด็ง ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรถแทร็กเตอร์แบบ ดี 4 ให้ตำรวจพลร่มเพื่อบุกเบิกและพัฒนาเส้นทางจากหัวหินไปห้วยมงคล และหนองพลับ จากการที่ตำรวจพลร่มได้พัฒนาจัดตั้งกลุ่มและควบคุมความเป็นอยู่ของชาวกระเหรี่ยงที่ป่าละอู มีผลทำให้เกิดโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่อันเป็นโครงการตามพระราชดำริ ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
 

ค่ายวัดสวนดอกเชียงใหม่


 

เมื่อได้มาอยู่ที่หัวหินแล้ว ทุกคนไม่ว่านายหรือพลตำรวจต้องฝึกฝนตนเองอยู่เป็นประจำ เพื่อให้จิตใตเข้มแข็ง ร่างการแข็งแรง และภารกิจแรกหลังจากที่มาอยู่ที่หัวหิน คือ การปราบปรามจีนฮ่อ ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ทางภาคเหนือของไทย ทำมาหากินโดยการค้าฝิ่นและยาเสพติด พวกนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองพล 93 หรือทางจีนคณะชาติ (ก๊กมินตั๋ง) ซึ่งถูกฝ่ายเมาเซตุงตีร่นถอยมาจากตอนกลางของประเทศจีน จนกระทั่งมาติดอยู่ที่เขตติดต่อไทย ลาว และพม่า พื้นที่นี้เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ

 

พวกจีนฮ่อนี้มีพฤติการณ์ที่เลวร้ายมากทำให้ตำรวจภูธรเจ้าของท้องที่ไม่อาจปราบปรามหรือดำเนินการทางกฎหมายได้ เป็นเหตุให้ประชาชนภาคเหนือเดือดร้อนมาก พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อ.ตร. จึงส่งกองร้อยตำรวจพลร่มไปปราบปรามโดยตั้งค่ายพักที่วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กำลังส่วนหนึ่งไปทางอากาศโดยการโดดร่มลงบริเวณสนามบินเชียงใหม่ ซึ่งได้สร้างความตื่นเต้นประทับใจให้กับชาวเชียงใหม่ เพราะเพิ่งเคยเห็นการโดดร่มเป็นครั้งแรก ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2496-2500

 

ผลการปฏิบัติได้ทำการจับกุมการลักลอบค้าฝิ่นกว่า 70 ครั้ง ในระหว่างปฏิบัติงานนั้นได้มีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังจากหัวหินด้วย ส่วนที่อยู่ที่ค่ายนเรศวร หัวหิน นั้นได้มีการรับสมัครบุคคลภายนอกเข้าเป็นตำรวจเพิ่มอีกหลายรุ่น
 
 
อีกภารกิจหนึ่งซึ่งสำคัญมาก คือ การโดดร่มลงตามแนวชายแดนเพื่อลาดตระเวนสำรวจสภาพภูมิประเทศตามแนวชายแดนและทราบความเป็นอยู่ของราษฎรทั่วทุกภาคของประเทศไทยจนพูดกันว่า ” ไม่มีพื้นดินส่วนไหนของเมืองไทยที่ตำรวจพลร่มไม่รู้จัก ” ส่วนกำลังส่วนย่อยก็ลาดตระเวนหาข่าวโดยทางเท้าและเขียนรายงานเกี่ยวกับรายละเอียดที่สำคัญ เช่น สภาพหมู่บ้าน และความเป็นอยู่ของราษฎร หมวดเสนารักษ์ได้ช่วยชีวิตประชาชนในท้องที่ห่างไกลคมนาคมไว้เป็นจำนวนมาก

 

ร.ต.ท. ปิ่นทัพ ปุราเท (ยศในขณะนั้น) ระหว่างปฏิบัติงานในชุมชนบ้านกลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา

 

ส่วนกองร้อยส่งทางอากาศก็ส่งอาหารและอุปกรณ์ให้หน่วยลาดตระเวนและหมวดชายแดนซึ่งอยู่ ในพื้นที่ทุรกันดาร และไม่สามารถส่งด้วยวิธีอื่นได้ โจรผู้ร้ายตามพื้นที่เหล่านั้นไม่เคยได้รับการปรามปรามอย่างทั่วถึงมาก่อน ต้องหวั่นเกรงต่อสมรรถภาพของตำรวจพลร่ม ประสิทธิภาพของหมวดสื่อสารช่วยให้ผู้บังคับบัญชาในที่ตั้งปกติได้รับข่าวสารภายในระยะเวลาอันสั้น

 

แม้ว่าข่าวนี้จะมาจากพื้นที่อยู่ไกลสุดของประเทศไทยก็ตามผลการปฏิบัติงานของตำรวจพลร่มนั้นมิได้เป็นที่รับทราบของส่วนราชการอื่น ๆ มากนัก จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดและมีข่าวลือที่ผิดพลาดต่าง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้ขวัญและกำลังใจของตำรวจพลร่มเสียไป ยังคงปฏิบัติอยู่ถึงแม้ จะยังไม่มีการรับรองคุณค่าเป็นทางการเท่าที่ควร

 

กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ (กก.สอ.)


 

หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการจัดส่วนระบบราชการของกรมตำรวจใหม่ โดยยุบกองบังคับการยานยนต์ หน่วยพลร่มค่ายนเรศวรก็โอนไปอยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน แต่ยังไม่มีการจัดกำลังที่แน่นอน พ.ต.ต.ประเนตร ฤทธิฦาชัย ซึ่งเป็นผู้บังคับหน่วยในขณะนั้นจึงได้เสนอโครงการจัดกำลังและภารกิจของหน่วยต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2503 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยหน่วยตำรวจพลร่มค่ายนเรศวรได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ ” โดยใช้คำย่อ “ กก.สอ. ” ขึ้นตรงต่อผู้บังคับการฝ่ายสนับสนุนตำรวจภูธร (ชายแดน)


จากความรู้ความชำนาญในการฝึกการดำรงชีพในป่าและการเดินลาดตระเวนตามแนวชายแดนทำให้ทราบว่า


1. ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศในแต่ละภาคของประเทศไทยนั้นแตกต่างกัน
2. การลาดตระเวนและการปราบปรามโจรผู้ร้ายตามแนวชายแดนเท่าที่เคยปฏิบัติไปแล้วนั้นตำรวจรู้จักภูมิประเทศอย่างผิวเผิน ยังไม่มีความชำนาญภูมิประเทศในแต่ละถิ่นเพียงพอ กล่าวคือ ต้องใช้คนนำทางแทบทุกครั้ง
3. ฝ่ายตรงข้ามทราบข่าวสารต่าง ๆ ดีกว่าฝ่ายปราบปราม เนื่องจากราษฎรไม่คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ หรือราษฎรตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายตรงข้ามด้วยความจำเป็นบังคับ
4. ฝ่ายตรงข้ามทราบข่าวการติดตามและความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ก่อนเสมอทำให้หลบหลีกเจ้าหน้าที่ได้ทุกครั้ง เจ้าหน้าที่ติดตามด้วยความยากลำบากโดยไร้ประโยชน์
5. ฝ่ายตรงข้ามรู้จักการใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์ในการต่อสู้หรือหลบหนีเพราะรู้จักภูมิประเทศทุกซอกทุกมุมดีกว่า เมื่อฝ่ายปราบปรามไม่มีความรู้ในภูมิประเทศทำให้เสียผลงาน แม้จะปฏิบัติการได้เปรียบทางยุทธวิธี แต่ก็จะทำให้เกิดความลังเลในการขยายผลไล่ติดตาม
6. โจรผู้ร้ายต่างชาติข้ามแดนเข้ามาปล้นสดมภ์อยู่เสมอตามแนวชายแดน เจ้าหน้าที่ซึ่งมีกำลังต้านทานไม่เพียงพอทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านชายแดนขวัญไม่ดี หวาดกลัวภัยจนไม่เป็นอันประกอบอาชีพได้อย่างปกติสุข

 

  ร.ต.ท. ปิ่นทัพ ปุราเท (ยศในขณะนั้น) ลาดตระเวณตรวจตราพร้อมทำงานมวลชลสัมพันธ์ที่บ้านกลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา

 

ประกอบกับฝ่ายตรงข้าม คือ คอมมิวนิสต์มีการปฏิบัติงานแบบกองโจรที่ถืออาวุธมีการบ่อนทำลาย เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ตามแนวชายแดนทางภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยมากขึ้นทุกที อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติในระยะนี้  ตามพรมแดนของประเทศไทยที่มีช่องทางต่าง ๆ มากมาย ทางภาคเหนือมีภูเขา ซึ่งมีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่าอพยพไปมาและทำการหาเลี้ยงชีพอยู่ทางภาคเหนือของไทย ลาว พม่า และทางภาคใต้ของจีนสุดแต่บริเวณใดจะอุดมสมบูรณ์ในปีไหน

 

การอพยพของบุคคลเหล่านี้ไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและเขตแดน ถือเอาความสะดวกสบายเป็นเกณฑ์ มีความชำนาญในการเดินป่าและรู้จักเส้นทางต่าง ๆ เป็นอย่างดี และมีผู้มีอิทธิพลเหนือชาวเขาเหล่านี้ คือ พวกคณะสอนศาสนาเพราะทางราชการก็เหินห่างด้านความเป็นอยู่ของเขา ตามแนวพรมแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีแม่น้ำโขงกั้นนั้น สามารถข้ามได้ทุกแห่งเป็นการยากที่จะตรวจตราควบคุมและประชาชนทั้งสองฝั่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ประดุจญาติพี่น้องกัน

 

ร.ต.ท.ปิ่นทัพ ปุราเท (ยศในขณะนั้น) ระหว่างการตรวจรถยนต์ที่ผ่านพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา

 

ความอ่อนแอของพรมแดนเหล่านี้ ควรจะได้รับการระวังรักษาอย่างกวดขัน  ค่ายนเรศวรได้ศึกษาและดำเนินการในอันที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ตลอดมาเพื่อให้หน่วยสามารถปฏิบัติงานได้ผลดีภายในขอบเขต โดยรับคำสั่งปฏิบัติและทำการเสนอแนะต่อหน่วยเหนือเพื่อความมุ่งหมายที่จะป้องกันรักษาชายแดนของประเทศไทย และให้ราษฎรที่อยู่ตามแนวพื้นที่ชายแดนทั่วไปได้รับความอบอุ่นและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การจัดตั้งหน่วย ปี พ.ศ.2494-2496 กรมตำรวจได้ดำเนินการฝึกตำรวจพลร่มขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี เมื่อ 24 เมษายน 2494 โดยประกาศรับสมัครจากตำรวจหน่วยต่าง ๆ ที่อาสาสมัครเข้ารับการฝึก เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาการรบแบบกองโจร อาวุธพิเศษ และการโดดร่ม โดยมีความมุ่งหมายหลักในขั้นต้น 2 ประการ คือ

 

1. เป็นการเตรียมกำลังไว้ในการต่อต้านการบ่อนทำลายของกองโจร และการจารกรรมที่อาจจะมาจากภายนอกประเทศ
2. เป็นการเตรียมกำลังตำรวจไว้ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองทัพต่าง ๆ ได้ในยามสงคราม
 

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเปิด ” ค่ายนเรศวร ” จึงได้สถาปนาเป็นวันกำเนิดค่ายนเรศวร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปี พ.ศ.2500 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล โดยคณะปฏิวัติ ค่ายนเรศวร จึงได้โอนไปอยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

 

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2503 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย หน่วยตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร จึงได้รับการยกฐานะเป็นกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจภูธร (ชายแดน)

 

ปี พ.ศ.2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 130 ลง 22 เมษายน พ.ศ.2515 ได้ปรับปรุงกองบัญชาการตำรวจภูธรใหม่ และจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจตะเวนชายแดนขึ้น กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศจึงขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และกำหนดหน้าที่การงานในราชการ กรมตำรวจ ตามระเบียบกรมตำรวจฉบับที่ 11 พ.ศ.2516 ข้อ 21 ก.

 

การขึ้นการบังคับบัญชาต่อกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนนั้น กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือการเบิกจ่ายพัสดุและอื่นๆโดยตรง บางโอกาสจึงเกิดอุปสรรคและเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทางกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงได้ยื่นข้อเสนอปัญหาต่อกรมตำรวจ

 

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2525 จึงได้มีประกาศกรมตำรวจ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 153 ลง 19 ตุลาคม พ.ศ.2525 ให้กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดนตั้งที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมกันนี้ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนก็ได้โอนเงินงบประมาณประจำปีแต่ละงวดมาให้ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศฯเบิกจ่าย ณ คลังจังหวัดเพชรบุรีและเสนอกรมตำรวจมอบอำนาจให้ผู้กำกับการสนับสนุนทางอากาศฯมีอำนาจซื้อและจ้างพัสดุให้กับหน่วยงานของตน

 

ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 14 ) พ.ศ.2529 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้าที่ 5 เล่มที่ 103 ตอนที่ 176 ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2529 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศฯจึงได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

 

ภารกิจ


 

กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศได้รับมอบหมายตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการลง 20 กันยายน พ.ศ.2503 ภารกิจ คือ
ก.ยามปกติ
1. เป็นหน่วยปฏิบัติการของกรมตำรวจเป็นหน่วยหนุนเคลื่อนที่เร็วของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ปฏิบัติการในยามฉุกเฉิน
2. เตรียมที่จะส่งกำลังตำรวจพร้อมอุปกรณ์และวิทยุสื่อสารโดดร่มลงเสริมกำลังไม่ว่าจุดใดในประเทศไทย
3. เตรียมส่งหน่วยพยาบาลพร้อมอุปกรณ์วิทยุสี่อสารโดดร่มลงจุดใด ๆ ในประเทศไทยเพื่อเตรียมรักษาพยาบาลราษฎรในกรณีเกิดโรคระบาดหรือได้รับการบาดเจ็บอย่างหนัก ในพื้นที่ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถเข้าไปถึงปฏิบัติการได้อย่างทันท่วงที
4. ประสานการปฏิบัติกับกระทรวงสาธารณสุข ในการส่งเครื่องเวชภัณฑ์และเสบียงอาหารทางอากาศให้กับ บรรดาอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ที่อยู่ไกลคมนาคมในยามฉุกเฉิน
5. ส่งหน่วยลาดตระเวนปฏิบัติการตามพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการอื่นเข้าไปปฏิบัติการได้ทั่วถึง เพื่อรวบรวมข่าวสารที่จะยังเป็นประโยชน์ให้กับข้าราชการของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ
6. เพื่อตรวจตราเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของประชาชนในพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลเส้นทางคมนาคมเพื่อดำเนินการต่อต้านการแทรกซึมฝ่ายข้าศึก โดยปฏิบัติการให้ประชาชนตระหนักว่า รัฐบาลมีความสนใจในความเป็นอยู่ตลอดจนสวัสดิภาพของเขาตลอดไป
7. ทำหน้าที่เป็นหน่วยส่งกำลังบำรุงทางอากาศ ให้กับหน่วยราชการที่ร้องขอ
8. ระงับทุกข์บำรุงสุขตามหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ในพื้นที่ที่ตำรวจหน่วยอี่นๆ ไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติการได้ทั่วถึง เพราะความกันดารของภูมิประเทศตลอดจนปัญหาการส่งเสบียงเพิ่มเติม
9. ทำหน้าที่เป็นหน่วยฝึกอบรมนอกแบบ ฝึกโดดร่มและหน่วยช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกรมตำรวจ
10. ทำหน้าที่เป็นหน่วยช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางบก ทางอากาศ ทางทะเล ในกรณีเร่งด่วนซึ่งยังไม่มีหน่วยราชการอื่นเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที
11. หน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 รับผิดชอบในการสนับสนุนการปฏิบัติการและการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ก่อการร้ายสากลในพื้นที่รับผิดชอบของ กองทัพภาคที่ 1-4 และกองทัพเรือ (เว้นพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังรักษาพระนคร) ตามคำสั่งกรมตำรวจที่ 1552/2527 ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2527
ข.ยามภัยสงคราม
1. โดดร่มลงหลังแนวข้าศึก รวบรวมกำลังและเจ้าหน้าที่เป็นผู้นำหน่วยรบแบบกองโจรภายใต้การอำนวยการของผู้บังคับบัญชาสูงสุด

2. ประสานการปฏิบัติร่วมกับ ทบ. และ ทอ. ในการส่งกำลังบำรุงทางอากาศให้กับหน่วยรบแบบกองโจร

 

 สกู๊ปรายการประเด็นเด็ด 7 สี : การทำงานของตำรวจพลร่มค่ายนเรศวรท่ามกลางไฟใต้